วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

หมวด (ฟ)

ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด


หมายถึง ฟังเรื่องราวไม่ชัดเจน แล้วนำไปพูดหรือทำอย่างผิดพลาด กระเดียด คือ กิริยาที่นำสิ่งของไปโดยเอาเข้าข้างสะเอว
ในที่นี้ หมายถึง นำไปพูดต่อ

ตัวอย่าง

“ข้อเสียของคนไทยชั้นใหม่นี้มีอยู่ที่สำคัญคือสิ่งใดที่เป็น
ของเก่าจะทิ้งเสียให้หมด แต่ของใหม่ก็ไม่มีมาแทน ได้ยินฝรั่งเขา พูดอะไร ได้ยินแว่วๆ ฟังไม่ได้ศัพท์จับเอามากระเดียด เขาพูดก็พูดไปบ้างอย่างนั้นเอง
(ปลุกใจเสือป่า)

“เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาใหญ่โต ก็เพราะพวกที่ ฟังไม่ได้
ศัพท์จับไปกระเดียด นี่เอง”

ฟังหูไว้หู


หมายถึง รับฟังเรื่องราวจากหลายๆฝ่ายให้ทั่วก่อนตัดสิน
โคลงสุภาษิตประจำภาพในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อธิบายความหมายว่า
ความสิ่งใดเล่าล้น เหลือครู
ควรตริตรองชั่งชู เที่ยงแท้
ฟังหูหนึ่งไว้หู หนึ่งชอบ
หูไม่เบาความแม้ แม่นแล้วเลิศคุณ

ตัวอย่าง

จงฟังหูไว้หูคบผู้คน สืบยุบลเสียให้แน่อย่าแร่ไป
(สุภาษิตสอนหญิง)
อนึ่งนางสาวใช้ในปราสาท ถ้าพลั้งพลาดเล็กน้อยค่อยไต่ถาม
จงไว้หูฟังหูอย่าวู่วาม พูดให้งามไพร่ผู้ดีมีเมตตา
(พิเภกสอนบุตร)
“นี่เธอ ฟังหูไว้หู ก่อนก็จะดีนะ อย่าเพิ่งหูเบาไปเชื่อที่เขา
เดี๋ยวแฟนเธอกลับมาค่อยว่าเรื่องที่เขาเล่านั้นจริงหรือเปล่า”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น