วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

หมวด (ร)

รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี


หมายถึง รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

จะเลี้ยงดูลูกให้ดีต้องดูแลใกล้ชิด ไม่ปล่อยปละละเลย

สำนวนนี้บางทีใช้ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้เฆียน”

ตัวอย่าง

“พ่อแม่บ้านนั้นเขาดีนะ ไม่เคยให้ท้ายลูกเลย เวลาลูกทำผิด

ก็ว่ากล่าวตักเตือนหรือลงโทษ เข้าทำนอง รักวัวให้ รักลูกให้ตี”


รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

หมายถึง ทำไม่ดีหรือทำผิดไม่ยอมรับกลับโทษคนอื่นในการฟ้อนรำ ลีลาท่ารำต้องให้เข้ากับปี่กลอง บางคนเมื่อ

รำไม่ถูกจังหวะกลับไปโทษว่าปี่และกลองผิดจังหวะ

สำนวนนี้บางทีใช้ว่า “รำไม่ดีโทษปี่พาทย์” หรือ “รำชั่วโทษพาทย์”

ซึ่งบางทีกล่าวต่อไปว่า “รำชั่วโทษพาทย์ ขี้ราดโทษล่อง”

โคลงสุภาษิตเก่าอธิบายความหมายว่า

รำชั่ว ตัวบ่งเชื้อ ชาตรี

โทษพาทย์ ว่าพลาดตี บ่ต้อง

ขี้ราด ชาติอัปรีย์ แปรพากย์

โทษล่อง ช่องชั่วพร้อง เพราะนั้นใครเห็น

ตัวอย่าง

“เธอทำอาหารไม่อร่อยแล้วเธอโทษว่าตำรากับข้าวเขียน

มีดี รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ได้ยังไง”


รักพี่เสียดายน้อง


หมายถึง ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี

ตัวอย่าง

ถ้าเจอจะเอออวยไปด้วยพี่ จะเสียทีไม่ถนัดขัดข้อง

เสมือนหนึ่งรักพี่เสียดายน้อง ถ้ำทองเป็นสุขสนุกสบาย

(ไกรทอง ตอน นางวิมาลาจะตามไกรทองขึ้นมา)

ตัวอย่าง

“เสื่อสองตัวนี้สวยพอกัน ฉันตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกตัวไหนดี

ประเภท รักพี่เสียดายน้อง น่ะเธอ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น