วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

หมวด(ต)

ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ



ที่มา จากการกระทำหรือกิริยาอาการของมนุษย์


ความหมาย การกระทำอะไรสักอย่างที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สมดุลกัน หรือ ใช้จ่ายทรัพย์ลงทุนไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เช่น ลงทุนเล็กน้อยเพื่อทำงานใหญ่ ซึ่งต้องใช้เงินมากๆ ย่อมไม่อาจสำเร็จได้ง่าย ต้องสูญทุนไปเปล่าๆ เปรียบเหมือนตำน้ำพริกเพียงครกเดียว เอาไปละลายในแม่น้ำกว้างใหญ่ เมื่อละลายไปก็จะสูญหายไปหมดสิ้น ไม่ทำให้แม่น้ำเกิดอะไรผิดปกติขึ้น เสียน้ำพริกไปเปล่า

มนุษย์เราคิดการใหญ่มักลงทุน ช่วยอุดหนุนทุ่มทุนมหาศาล
เกิดกำหนดอัตรางบประมาณ ไม่คาดการณ์ล่วงหน้ามุ่งทำไป
ผลที่ได้กลับไม่ได้ดั่งใจคิด คาดการณ์ผิดงานล่มสุดแก้ไข
ต้องมลายกลายเป็นศูนย์ไม่สมใจ ภาษิตไทยตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเอย

ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา



หมายถึง ให้รูจักฐานะของตนเองและเจียมตัว

กะโหลก คือ ภาชนะที่ทำด้วยกะโหลกมะพร้าวโดยตัดทางตาออกพอดีเป็นช่องว่างเพื่อใช้ตักน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น