วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

หมวด (บ)

บ้านแตกสาแหรกขาด
หมายถึง เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือในบ้านเมืองทำให้ต้องกระจัดกระจายพลัดพรากกัน

สาแหรก คือ เครือญาติซึ่งเปรียบเหมือนสายสาแหรก

ตัวอย่าง
“เธอถอนตัวออกมาเสียดีกว่า อย่าทำตัวเหมือนเป็นมือที่สามยุยง
ให้เขาบ้านแตกสาแหรกขาดเลย จะบาปกรรมเปล่าๆ”

บ่างช่างยุ

 

หมายถึง คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกันบ่างเป็นสัตว์รูปร่างคล้ายกระรอก มีหนังพังผืดข้างลำตัวคล้ายปีก ถลาร่อนลงมาจากที่สูงได้ สำนวนนี้มาจากนิทานสุภาษิตที่เล่าว่าบ่างเที่ยวพูดยุนกกับหนูมิให้รับค้างคาวเป็นพวก



ตัวอย่าง
“ไม่มีใครอยากคบกับเธอ เพราะเธอเป็นบ่างช่างยุ ชอบ
พูดให้เขาผิดใจกันเสมอ”

บ้านนอกคอกนา


หมายถึง ไม่ใช่ชาวกรุงหรือชาวเมือง ขอก เป็นภาษาถิ่นเหนือหมายถึงเขต แดน ริม ขอบเจ้านายหรือชนชั้นสูงในเมืองหลวงมักเรียก ชาวบ้านสามัญที่อยู่ห่างไกลความเจริญว่าพวกบ้านนอกขอกนาสำนวนนี้บางทีใช้ว่า “บ้านนอกคอกนา”

ตัวอย่าง
เมื่อนั้น พระสังข์ทองร้องห้ามคนถือหวาย
ช่างเถิดหนาเสนาอย่าวุ่นวาย ตายายชาวบ้านนอกขอกนา
(สังข์ทอง ตอน ท้าวยศวิมลและนางจันทร์เทวีปลอมตัวไปหาพระสังข์)
ด้วยเป็นชาวนานอกขอกนา กิริยาพาทีหาดีไม่
ถ้าจะผิดพลั้งบ้างเป็นไร เจ้าก็ไม่ด่าตีศรีมาลา
(ขุนช้างขุนแผน ตอน พระพิจิตรตัดพ้อต่อว่าพลายงาม)








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น