วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

สำนวนไทยสุภาษิต

สำนวนไทย


ความหมายของสำนวน

สำนวน คือ คำพูดเป็นขั้นเชิง ไม่ตรงไม่ตรงมา แต่ใช้มีความหมายในคำพูดนั้นๆ

สำนวน หมายถึง สำนวน หรือถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นเป็น โวหาร บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร คำพูดของมนุษย์เราไม่ว่าจะชาติใดหรือภาษาใด แยกออกได้กว้างๆ เป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งพูดตรงไปตรงมาตามภาษาธรรมดา พอพูดออกมาก็เข้าใจกันได้ทันที อีกอย่างหนึ่งพูดเป็นชั้นเชิงไม่ตรงไปตรงมา แต่ให้มีความหมายในคำพูดนั้นๆ ผู้ฟังอาจเข้าใจความหมายทันที หรืออาจจะไม่เข้าใจความหมายโดยทันที ต้องคิดจึงจะเข้าใจ หรือบางทีคิดแล้วเข้าใจอย่างอื่นก็ได้ หรือไม่เข้าใจเลยก็ได้ คำพูดเป็นชั้นเชิงนี้ เราเรียกกันว่า สำนวน คือ คำพูดเป็นสำนวน ชาวบ้านจะเรียกว่า พูดสำบัดสำนวน
สำนวน คือ 1 “โวหาร ถ้อยคำที่เป็นข้อความพิเศษ คือ มีขั้นเชิงของความหมายให้ขบคิด”
สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมาย เป็นอย่างอื่น คือ เป็นชั้นเชิงชวนให้คิด ซึ่งอาจเป็นไปในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม และอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างเด่นชัด
สำนวน หมายถึง ถ้อยคำในภาษาไทยที่ใช้ในการพูดจาสื่อสารกัน โดยมีความหมายเป็นนัย ไม่แปลความหมายของคำตรงตัว มักจะแปลความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ
สำนวน คือ หมู่คำที่ไพเราะคมคาย เป็นคำพูดสั้น ๆ แต่มีความหมายกว้างขวางลึกซึ้งชวนให้คิด เป็นถ้อยคำที่เรียบเรียง,โวหาร,บางที่ใช้คำว่าสำนวนโวหาร, เป็นถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่ใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาจะเป็นข้อความพิเศษเฉพาะของแต่ละภาษา แต่ทุกถ้อยคำก็ไพเราะ

หมวด (ร)

รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี


หมายถึง รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

จะเลี้ยงดูลูกให้ดีต้องดูแลใกล้ชิด ไม่ปล่อยปละละเลย

สำนวนนี้บางทีใช้ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้เฆียน”

ตัวอย่าง

“พ่อแม่บ้านนั้นเขาดีนะ ไม่เคยให้ท้ายลูกเลย เวลาลูกทำผิด

ก็ว่ากล่าวตักเตือนหรือลงโทษ เข้าทำนอง รักวัวให้ รักลูกให้ตี”


รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

หมายถึง ทำไม่ดีหรือทำผิดไม่ยอมรับกลับโทษคนอื่นในการฟ้อนรำ ลีลาท่ารำต้องให้เข้ากับปี่กลอง บางคนเมื่อ

รำไม่ถูกจังหวะกลับไปโทษว่าปี่และกลองผิดจังหวะ

สำนวนนี้บางทีใช้ว่า “รำไม่ดีโทษปี่พาทย์” หรือ “รำชั่วโทษพาทย์”

ซึ่งบางทีกล่าวต่อไปว่า “รำชั่วโทษพาทย์ ขี้ราดโทษล่อง”

โคลงสุภาษิตเก่าอธิบายความหมายว่า

รำชั่ว ตัวบ่งเชื้อ ชาตรี

โทษพาทย์ ว่าพลาดตี บ่ต้อง

ขี้ราด ชาติอัปรีย์ แปรพากย์

โทษล่อง ช่องชั่วพร้อง เพราะนั้นใครเห็น

ตัวอย่าง

“เธอทำอาหารไม่อร่อยแล้วเธอโทษว่าตำรากับข้าวเขียน

มีดี รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ได้ยังไง”


รักพี่เสียดายน้อง


หมายถึง ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี

ตัวอย่าง

ถ้าเจอจะเอออวยไปด้วยพี่ จะเสียทีไม่ถนัดขัดข้อง

เสมือนหนึ่งรักพี่เสียดายน้อง ถ้ำทองเป็นสุขสนุกสบาย

(ไกรทอง ตอน นางวิมาลาจะตามไกรทองขึ้นมา)

ตัวอย่าง

“เสื่อสองตัวนี้สวยพอกัน ฉันตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกตัวไหนดี

ประเภท รักพี่เสียดายน้อง น่ะเธอ”

หมวด (ย)

ย้อมแมวขาย


หมายถึง ตกแต่งคนหรือของที่ไม่ดีหรือมีค่าน้อยโดยเจตนาจะ

หลอกลวงให้ผู้อื่นเชื่อว่าดี

สมัยก่อนคนไทยนิยมหาแมวที่มีลักษณะดีมาเลี้ยงโดย
ถือว่าให้คุณ การเลี้ยงก็เลี้ยงอย่างดี กาญจนาคพันธุ์อ้างตำราแมว

ของโบราณว่า

ถนอมเลี้ยงดังบุตรสุดสวาทดิ์ อย่าเกรี้ยวกราดรังเกียจคิดเดียดฉันท์

ให้อาบน้ำเช้าเย็นอย่าเว้นวัน เอาแป้งจันทน์หอมฟุ้งบำรุงทา

บางคนอาบน้ำแมวแล้วทาขมิ้นเหลือง บางคนทาขมิ้นกับ

ปูนแดงทั้งตัว เหมือนย้อมแมวให้เป็นสีต่างๆสำนวน “ย้อมแมวขาย”

จึงอาจจะมาจากสาเหตุนี้ก็ได้

โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

อธิบายความหมายว่า

จับแมวมาลูบล้าง สอดสี

ขายส่งแสนอัปรีย์ ชั่วช้า

เป็นคนคิดเอาดี โดยร่อน ร่อนเฮย

ขายอื่นบ่คิดค้า คิดย้อมแมวขาย

ตัวอย่าง

“นายหน้าหาหญิงสาวมาขึ้นเวทีประกวดนางงามทุกวันนี้

บางคนก็ ย้อมแมวขาย เราดูไม่ออกหรอกว่านางสาวจริงหรือเปล่า”


ยื่นแก้วให้วานร


หมายถึง เอาของมีค่าให้แก่คนที่ไม่รู้ค่าของสิ่งนั้น

โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

อธิบายความหมายว่า

ส่งเครื่องประดับให้ วานร

ฤๅจักอาจอาภรณ์ ผูกใช้

อย่าควรส่งสังวร โอวาท

ให้พวกพาลบอดใบ้ ไป่รู้รักษา

ตัวอย่าง

เพชรอย่างดีมีค่าราคายิ่ง ส่งให้ลิงจะรู้ค่าราคาหรือ

ต่อผู้ดีมีราคาจึงหารือ ให้เขาลือเสียว่าชายนี้ขายเพชร

(อิศรญาณภาษิต)

โอ้เจ้าวันทองของพี่เอ๋ย ไม่เห็นเลยว่าจะเป็นเช่นนี้ได้

เสียยศเสียศักดิ์สักเท่าไร ดังดวงแก้วไปได้กับวานร

(ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนแผนต่อว่านางวันทอง)


ยื่นหมูยื่นแมว


หมายถึง แลกกันทันทีทันใดไม่ให้เสียเปรียบกัน

ตัวอย่าง

รักจริงฤๅเจ้าเณรจะแกล้งรัก เห็นหนักนักนีดเน้นเข้าเป็นชั่ง

ข้ากลัวแต่ได้คนสินบนยัง จะร้องทวงโด่งดังก็ใช่ที

ถ้าจริงจังดังนั้นเจ้าเณรแก้ว มายื่นแมวยื่นหมูให้รู้ที่

เจ้ารักษาสัตย์ไว้ให้จงดี พรุ่งนี้เจ้าเณรมาฟังดู

(ขุนช้างขุนแผน ตอน สายทองเป็นสื่อให้นางพิม)

“เรามา ยื่นหมูยื่นแมว กัน ฉันให้เธอยืมหนังสือการ์ตูนเธอ

ให้ฉันยืมเกมนะ”

หมวด (ม)

มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ


หมายถึง ไม่ช่วยทำงานแล้วยังกีดขวาง ทำให้งานไม่ก้าวหน้าเอาเท้าราน้ำ หมายถึงห้อยเท้าลงไปในน้ำ ทำให้เรือแล่นช้าลง
โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อธิบายความหมายว่า
มือมีไม่ถ่อทั้ง ไม่พาย
เท้ารอราน้ำกระจาย ชักช้า
เขากอบกิจขวาย ขวนอยู่ ไฉนนา
กล่าวขัดขวางทางถ้า ถ่องแท้อย่าทำ
ตัวอย่าง

“เขาไม่ช่วยทำงานสักอย่าง แล้วยังคอยคัดค้านทุกเรื่อง
คนอะไร มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ”

แมงเม่าบินเข้ากองไฟ


หมายถึง คนที่เข้าไปหาเรื่องตายหรือหาหายนะอย่างโง่เขลา
ที่มา แมงเม่ามักตายเพราะชอบบินเข้าไปเล่นไฟ
โคลงสี่สุภาพประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามอธิบายความหมายว่า
แมลง ค่อมมอมมืดหน้า นึกไฉน
เม่า หมิ่นยินร้ายไฟ รุ่งฟ้า
เข้าเปลวลวกประลัย ลาญชีพ เปล่าเฮย
ไฟ ดังบาปกรรมเกล้า ลวกผู้พาลเขลา

มดแดงแฝงพวงมะม่วง

หมายถึง ชายที่เฝ้าปองรักหญิงมานาน คอยกันท่าชายอื่น แต่ตัวเองก็ไม่สมหวัง
ที่มา มดแดงมักจะทำรังและไต่ตามผลมะม่วงแต่มิได้กินและไม่รู้รสมะม่วง แต่เมื่อมีใครมาเก็บมดแดงจะกัด
โอ้อนาถวาสนาพี่หาไม่ จึงมิได้ชิดเชื่อแม่เนื้อหอม
เหมือนมดแดงแฝงพวงมะม่วงงอม เที่ยวไต่ตอมเต็มอยู่มิรู้รส

หมวด (ฟ)

ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด


หมายถึง ฟังเรื่องราวไม่ชัดเจน แล้วนำไปพูดหรือทำอย่างผิดพลาด กระเดียด คือ กิริยาที่นำสิ่งของไปโดยเอาเข้าข้างสะเอว
ในที่นี้ หมายถึง นำไปพูดต่อ

ตัวอย่าง

“ข้อเสียของคนไทยชั้นใหม่นี้มีอยู่ที่สำคัญคือสิ่งใดที่เป็น
ของเก่าจะทิ้งเสียให้หมด แต่ของใหม่ก็ไม่มีมาแทน ได้ยินฝรั่งเขา พูดอะไร ได้ยินแว่วๆ ฟังไม่ได้ศัพท์จับเอามากระเดียด เขาพูดก็พูดไปบ้างอย่างนั้นเอง
(ปลุกใจเสือป่า)

“เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาใหญ่โต ก็เพราะพวกที่ ฟังไม่ได้
ศัพท์จับไปกระเดียด นี่เอง”

ฟังหูไว้หู


หมายถึง รับฟังเรื่องราวจากหลายๆฝ่ายให้ทั่วก่อนตัดสิน
โคลงสุภาษิตประจำภาพในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อธิบายความหมายว่า
ความสิ่งใดเล่าล้น เหลือครู
ควรตริตรองชั่งชู เที่ยงแท้
ฟังหูหนึ่งไว้หู หนึ่งชอบ
หูไม่เบาความแม้ แม่นแล้วเลิศคุณ

ตัวอย่าง

จงฟังหูไว้หูคบผู้คน สืบยุบลเสียให้แน่อย่าแร่ไป
(สุภาษิตสอนหญิง)
อนึ่งนางสาวใช้ในปราสาท ถ้าพลั้งพลาดเล็กน้อยค่อยไต่ถาม
จงไว้หูฟังหูอย่าวู่วาม พูดให้งามไพร่ผู้ดีมีเมตตา
(พิเภกสอนบุตร)
“นี่เธอ ฟังหูไว้หู ก่อนก็จะดีนะ อย่าเพิ่งหูเบาไปเชื่อที่เขา
เดี๋ยวแฟนเธอกลับมาค่อยว่าเรื่องที่เขาเล่านั้นจริงหรือเปล่า”

หมวด (พ)

พกหินดีกว่าพกนุ่น

หมายถึง ใจหนักแน่นมั่งคงดีกว่าใจเบา หินเป็นของหนักเปรียบเหมือนใจที่หนักแน่น นุ่นเป็นของเบาเปรียบเหมือนใจที่ไม่หนักแน่น
เมื่อแรกเห็นจะเป็นจิรังกาล มิรู้พาลพวกพกกระเชอนุ่น
โอ้ชีวิตเห็นจะปลิดลงเป็นจุณ จะสิ้นบุญปลดปลงลงม้วยมุด

พร้างัดปากไม่ออก


หมายถึง มีอุปนิสัยไม่ชอบพูด
สำนวนนี้เปรียบคนที่ไม่พูดว่าปิดปากสนิท แม้จะใช้มีดงัดปากก็ไม่ยอมเปิดปาก
สำนวนนี้บางครั้งใช้ว่า”พร้าคัดปากไม่ออก”
ลูกข้าพร้าคัดปากไม่พูดออก อยู่บ้านนอกไม่ทะเลาะกับใครได้
เพื่อนฝูงเขาด่าว่ากระไร ก็เอาแต่ร้องไห้ไม่เถียงเป็น

พุ่งหอกเข้ารก




หมายถึง ทำอย่างลวกๆ ให้เสร็จโดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมาการพุ่งหอกเข้ารกซึ่งมองไม่เห็นที่หมาย ย่อมไม่ได้ประโยชน์ซ้ำยังเสียประโยชน์อีกด้วย

พุ่งหอกเข้ารกแล้ว หลีกหนี
ใจด่วนควรการดี บ่ได้
ผิดถูกไป่ทราบมี จิตต์มัก ง่ายนา
เอาแต่เสร็จการไซร้ ชุ่ยพ้น


พระยาเทครัว


หมายถึง ชายที่ได้ญาติพี่น้องของภรรยามาเป็นภรรยาอีกคำว่าเทครัว แต่เดิมหมายถึงกวาดต้อนผู้คนในเมืองที่ตนรบชนะมาเป็นเชลยทั้งครอบครัว ส่วนความหมายของสำนวนนี้ที่ใช้ในปัจจุบันมีที่มาจากการที่หัวหน้าครอบครัวซึ่งเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ได้ญาติพี่น้องและบริวารในบ้านเกือบทั้งครอบครัวมาเป็นภรรยาจึงเปรียบเป็นพระยาเทครัว

ตัวอย่าง

“อย่าเจ้าชู้ไปนักเลย หมดสมัย พระยาเทครัว แล้ว”


พูดจนลิงหลับ



       หมายถึง พูดมากจนผู้ฟังเบื่อ
สำนวนที่มีความหมายใกล้เคียงคือ “พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ
“คนขายประกันชีวิตคนนั้น พูดจนลิงหลับ ลูกค้าเบื่อกันทั้งนั้น”

หมวด (บ)

บ้านแตกสาแหรกขาด
หมายถึง เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือในบ้านเมืองทำให้ต้องกระจัดกระจายพลัดพรากกัน

สาแหรก คือ เครือญาติซึ่งเปรียบเหมือนสายสาแหรก

ตัวอย่าง
“เธอถอนตัวออกมาเสียดีกว่า อย่าทำตัวเหมือนเป็นมือที่สามยุยง
ให้เขาบ้านแตกสาแหรกขาดเลย จะบาปกรรมเปล่าๆ”

บ่างช่างยุ

 

หมายถึง คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกันบ่างเป็นสัตว์รูปร่างคล้ายกระรอก มีหนังพังผืดข้างลำตัวคล้ายปีก ถลาร่อนลงมาจากที่สูงได้ สำนวนนี้มาจากนิทานสุภาษิตที่เล่าว่าบ่างเที่ยวพูดยุนกกับหนูมิให้รับค้างคาวเป็นพวก



ตัวอย่าง
“ไม่มีใครอยากคบกับเธอ เพราะเธอเป็นบ่างช่างยุ ชอบ
พูดให้เขาผิดใจกันเสมอ”

บ้านนอกคอกนา


หมายถึง ไม่ใช่ชาวกรุงหรือชาวเมือง ขอก เป็นภาษาถิ่นเหนือหมายถึงเขต แดน ริม ขอบเจ้านายหรือชนชั้นสูงในเมืองหลวงมักเรียก ชาวบ้านสามัญที่อยู่ห่างไกลความเจริญว่าพวกบ้านนอกขอกนาสำนวนนี้บางทีใช้ว่า “บ้านนอกคอกนา”

ตัวอย่าง
เมื่อนั้น พระสังข์ทองร้องห้ามคนถือหวาย
ช่างเถิดหนาเสนาอย่าวุ่นวาย ตายายชาวบ้านนอกขอกนา
(สังข์ทอง ตอน ท้าวยศวิมลและนางจันทร์เทวีปลอมตัวไปหาพระสังข์)
ด้วยเป็นชาวนานอกขอกนา กิริยาพาทีหาดีไม่
ถ้าจะผิดพลั้งบ้างเป็นไร เจ้าก็ไม่ด่าตีศรีมาลา
(ขุนช้างขุนแผน ตอน พระพิจิตรตัดพ้อต่อว่าพลายงาม)